เมืองพาน แทรกตัวอยู่บริเวณที่ซึ่งนักภูมิศาสตร์เรียกว่าแอ่งเชียงราย แอ่งเชียงรายได้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ทางตอนเหนืออันเป็นที่ราบลุ่มน้ำกกและทางตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของล้านาตะวันตก อาจจะกล่าวได้ว่าเมืองพานอยู่แอ่งเชียงรายทางตอนกลาง เนื่องจากว่าเป็นรอยต่อระหว่างเขตจังหวัดพะเยาและเชียงราย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเมืองพานนั้นเป็นที่ราบลุ่ม ปฐพีสัณฐานเป็นสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือเกือบราบเรียบ เนื่องจากกาสะสมตัวของตะกอนลำน้ำ ที่พัดพามาทั้งระยะใกล้และระยะไกลจึ่งมีเนื้อดินแตกต่างกันมาทั้งดินทรายและ ดินเหนียวสลับกัน ส่วนใหญ่เป็นดินลึกมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีเทือกเขาผีปันน้ำตะวันตกอยู่ทางด้านทิตตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูเขาดอยหมอก เป็นภูเขาที่กั้นเขตอำเภอพาน กับอำเภอเวียงป่าเป้า และแนวเขาด้านตะวันตกของเมืองพาน เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำหลายสายรวมไปถึง น้ำแม่ส้าน และน้ำแม่คาว แม่น้ำสายเล็กๆที่หล่อเลี้ยงผู้คนในเมืองพานมาช้านาน ลำน้ำแม่ส้านนั้นได้ไหลจากตำบลป่าหุ่ง ผ่านตำบลเมืองพาน ผ่านตำบลหัวง้มไปประจบกับแม่น้ำแม่ฮ่างที่ตำบลดอยงาม ส่วน ลำแม่น้ำคาว ได้ไหลออกจากตำบลสันกลาง ผ่านตำบลสันติสุข ผ่านตำบลเจริญเมือง ผ่านตำบลแม่อ้อ ผ่านตำบลสันมะเค็ด ไปบรรจบลำน้ำแม่พุง อำเภอป่าแดด ทางทิศตะวันออกมี ดอยด้วน หรือ ดอยหัวง้ม ดอยแห่งประวัติศาสตร์ที่มีการกล่าวถึงในตำนานและพงศาวดารต่างๆมากมาย เป็นเทือกที่เขาทอดตัวยาวจากทิศเหนือลงใต้ จนถึงจังหวัดพะเยา ทางด้านทิศเหนือติดกับเขตอำเภอแม่ลาวจังหวัดเชียงราย และทิศใต้ติดกับอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
เมืองพานมีลักษณ์ภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน (Savanna Climate) หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือแบบสวันนา
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกหนักมากประมาณเดือนกรกฏาคม ถึงเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม หรือเดือนกุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาว เนื่องจากได้รับลมจากทิศเหนือและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผัดผ่านประเทศจีนนำเอาความแห้งแล้งและความหนาวเย็นเข้ามา บางปีอุณหภูมิต่ำถึง 6 องศาเซลเซียส
- ฤดูร้อน เริ่มร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ในฤดูร้อนอากาศร้อนเนื่องจากเป็นช่วงที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากเคลื่อนตัวใกล้ เข้ามา บางปีอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาเซลเซียส
ด้วยภูมิลักษณะต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเมืองพานถือได้ว่าเป็นแหล่งที่ เหมาะแก่การอยู่อาศัยของผู้คนเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์บริเวณถ้ำพระ บ้านนิคมแม่ลาว ในพื้นที่เขตอำเภอพานปัจจุบัน วิวัฒนาการต่อมาเมื่อชุมชนขยายขึ้นมีการสร้างเมืองขนาดเล็กๆ ส่วนมากอยู่ต่างเชิงเขา ซึ่งก็มีการค้นพบมากเช่นกัน มีร่องรอยของเวียงโบราณซึ่งปรากฏลักษณะของคูน้ำคันดินและซากโบราณสถานกระจายตัวอยู่ทั่วไป รวมไปถึงเศษเครื่องปั้นดินเผา เตาเผา ที่มีการค้นพบที่บริเวณบ้านโป่งแดง บ้านหนองผักจิก แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งอดีต และเป็นแหล่งเตาเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนล้านนา
เมืองพานในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่
24
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าดินแดนแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเฉพาะร่องรอยของเมืองโบราณต่างๆ ซึ่งกระจายตัวอยู่ให้เห็นโดยทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอพาน ย้อนไปถึงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งสัญนิฐานว่าก่อนที่จะมีการเรียกว่า “ เมืองพาน ” ดินแดนแถบนี้คงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรภูกามยาว และคงจะเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศเหนือของอาณาจักรดังกล่าวนี้ อินทร์ สุใจ ได้กล่าวไว้ในเอกสาร ประวัติอำเภอพานว่า “ เมืองพาน ” หรืออำเภอพานในอดีต ประมาณปี พ.ศ.1639 ก่อนอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง 200 ปี พญาสลีจอมธรรม เป็นผู้ครองอาณาจักรภูกามยาว หรือพะเยาในปัจจุบัน
ภูกามยาวสมัยพญาสลีจอมธรรมมีหัวเมืองต่างๆ อยู่ในความปกครองจำนวน 36 ปันนา คำว่า “ ปันนา ” หมายถึง หัวเมือง อำเภอพานเป็นปันนาหนึ่งใน 36 ปันนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ปันนาคัว (เมืองคัว) เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ปันนาคัวเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญยิ่งของอาณาจักรภูกามยาว เพราะเหตุว่านอกจากจะเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเมืองหน้าด่านติดกับอาณาจักรไชยนารายณ์ (เชียงราย)
ต่อมาปันนาคัว ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า เมืองแจ้พราน ในสมัยพญาเจื๋องเป็นผู้ครองภูกามยาว การที่ปันนาคัวเปลี่ยนชื่อเป็น “ แจ้พราน ” เพราะเหตุว่า พญาเจื๋องได้ยกทัพผ่านปันนาคัว เพื่อไปช่วยพระปิตุลา ชื่อ ขุนชิน (เจ้าเมืองเจียงแสน) ซึ่งกำลังสู้รบกับพญาแก๋ว ในขณะที่พญาเจื๋อง ยกทัพผ่านปันนาคัวนั้นมีนายพราน ผู้หนึ่งผ่านมาพบกองทัพของพระองค์ แต่ไม่ได้หยุดคารวะพระองค์จึงตรัสสั่งคนหาญ (ทหาร) จับตัวนายพรานผู้นั้นมัดแช่ในลำน้ำแม่ฮ่าง 1 วันกับ 1 คืน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปันนาคัวจึงเรียกใหม่ว่า เมืองแจ้พราน (แช่พราน)
ต่อมาในสมัยเจ้าคำแดงเป็นผู้ครองอาณาจักภูกามยาว ได้ส่งราชโอรสคือ เจ้าคำลือ มาครองเมืองแจ้พรานเจ้าคำลือได้เล็งเห็นความสำคัญของเมืองแจ้พราน จึงได้เกณฑ์ผู้คนสร้างเมือ และขุดคือเมืองขึ้นใหม่ (คือเมือง หมายถึง คูเมือง) เพื่อป้องกันข้าศึกและเนื่องจากเจ้าคำลือเป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด ใจร้อน ทำการสิ่งใดไม่ชอบชักช้าชาวเมืองจึงขนานนามพระองค์ว่า “ พญาห้าว ” เมืองแจ้พรานจึงถูกเรียกใหม่ว่า “เวียงห้าว” ปัจจุบันยังมีหลักฐานคูเมือง ซากเมืองเก่าและวัดปรากฏให้เห็นอยู่ ณ บ้านดงสันป่าหนาด ต.เวียงห้าว อ.พาน จ.เชียงราย
เมืองพานยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 เป็นต้นมา การเมืองในล้านนาเกิดยุทธภัยถูกบุเรงนองรุกรานยึดได้และทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของพม่าเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองทั้งหมด ชาวแช่พรานหรือเมืองพานพากันอพยพหลบหนีภัย ที่ไปไม่ทันก็ถูกกวาดต้อนอพยพไปอยู่ยังถิ่นที่พม่าบังคับให้ไป จนที่สุดเมืองพานก็ร้าง กลายเป็นที่อยู่ของชาวป่า เช่น ชาวลัวะ มีคนไทยวนอยู่ปะปนบ้าง ส่วนที่พอมีก็ทางเชิงดอยหัวง้ม
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าดินแดนแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเฉพาะร่องรอยของเมืองโบราณต่างๆ ซึ่งกระจายตัวอยู่ให้เห็นโดยทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอพาน ย้อนไปถึงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งสัญนิฐานว่าก่อนที่จะมีการเรียกว่า “ เมืองพาน ” ดินแดนแถบนี้คงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรภูกามยาว และคงจะเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศเหนือของอาณาจักรดังกล่าวนี้ อินทร์ สุใจ ได้กล่าวไว้ในเอกสาร ประวัติอำเภอพานว่า “ เมืองพาน ” หรืออำเภอพานในอดีต ประมาณปี พ.ศ.1639 ก่อนอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง 200 ปี พญาสลีจอมธรรม เป็นผู้ครองอาณาจักรภูกามยาว หรือพะเยาในปัจจุบัน
ภูกามยาวสมัยพญาสลีจอมธรรมมีหัวเมืองต่างๆ อยู่ในความปกครองจำนวน 36 ปันนา คำว่า “ ปันนา ” หมายถึง หัวเมือง อำเภอพานเป็นปันนาหนึ่งใน 36 ปันนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ปันนาคัว (เมืองคัว) เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ปันนาคัวเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญยิ่งของอาณาจักรภูกามยาว เพราะเหตุว่านอกจากจะเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเมืองหน้าด่านติดกับอาณาจักรไชยนารายณ์ (เชียงราย)
ต่อมาปันนาคัว ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า เมืองแจ้พราน ในสมัยพญาเจื๋องเป็นผู้ครองภูกามยาว การที่ปันนาคัวเปลี่ยนชื่อเป็น “ แจ้พราน ” เพราะเหตุว่า พญาเจื๋องได้ยกทัพผ่านปันนาคัว เพื่อไปช่วยพระปิตุลา ชื่อ ขุนชิน (เจ้าเมืองเจียงแสน) ซึ่งกำลังสู้รบกับพญาแก๋ว ในขณะที่พญาเจื๋อง ยกทัพผ่านปันนาคัวนั้นมีนายพราน ผู้หนึ่งผ่านมาพบกองทัพของพระองค์ แต่ไม่ได้หยุดคารวะพระองค์จึงตรัสสั่งคนหาญ (ทหาร) จับตัวนายพรานผู้นั้นมัดแช่ในลำน้ำแม่ฮ่าง 1 วันกับ 1 คืน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปันนาคัวจึงเรียกใหม่ว่า เมืองแจ้พราน (แช่พราน)
ต่อมาในสมัยเจ้าคำแดงเป็นผู้ครองอาณาจักภูกามยาว ได้ส่งราชโอรสคือ เจ้าคำลือ มาครองเมืองแจ้พรานเจ้าคำลือได้เล็งเห็นความสำคัญของเมืองแจ้พราน จึงได้เกณฑ์ผู้คนสร้างเมือ และขุดคือเมืองขึ้นใหม่ (คือเมือง หมายถึง คูเมือง) เพื่อป้องกันข้าศึกและเนื่องจากเจ้าคำลือเป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด ใจร้อน ทำการสิ่งใดไม่ชอบชักช้าชาวเมืองจึงขนานนามพระองค์ว่า “ พญาห้าว ” เมืองแจ้พรานจึงถูกเรียกใหม่ว่า “เวียงห้าว” ปัจจุบันยังมีหลักฐานคูเมือง ซากเมืองเก่าและวัดปรากฏให้เห็นอยู่ ณ บ้านดงสันป่าหนาด ต.เวียงห้าว อ.พาน จ.เชียงราย
เมืองพานยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 เป็นต้นมา การเมืองในล้านนาเกิดยุทธภัยถูกบุเรงนองรุกรานยึดได้และทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของพม่าเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองทั้งหมด ชาวแช่พรานหรือเมืองพานพากันอพยพหลบหนีภัย ที่ไปไม่ทันก็ถูกกวาดต้อนอพยพไปอยู่ยังถิ่นที่พม่าบังคับให้ไป จนที่สุดเมืองพานก็ร้าง กลายเป็นที่อยู่ของชาวป่า เช่น ชาวลัวะ มีคนไทยวนอยู่ปะปนบ้าง ส่วนที่พอมีก็ทางเชิงดอยหัวง้ม
เรื่องราวของเมืองพานจากตำนานเอกสาร
เรื่องราวของ “ เมืองพาน ” ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงดินแดนแห่งนี้มากนัก เมืองพานเป็นเมืองที่พบเครื่องปั้นดินเผา แต่กระนั้นเรื่องราวของเมืองพานไม่ปรากฏในตำนานมากนัก สันนิษฐานว่าเมืองนี้อาจจะตั้งขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์มังรายก็เป็นได้ มีตำนานกล่าวถึงเมืองพานนี้น้อยครั้งหรือมิเช่นนั้นเมืองพานอาจจะเป็นเมืองเล็กๆ ไม่มีบทบาทด้านการเมือง จึงไม่มีการกล่าวถึง และเป็นที่น่าสังเกตเช่นกันว่า เวียงกาหลง ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญในสมัยโบราณก็ไม่พบปรากฏชื่อเมือง เช่นนี้ในตำนาน ถ้าจะคิดว่าเมืองที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมเล็กๆ ตำนานไม่มีโอกาสเขียนถึงเพราะไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ให้กล่าวถึงอาจจะเป็นได้ เมืองพานกล่าวถึงในสมัยที่บ้านเมืองเชียงใหม่จลาจล มีการลอบปลงพระชนม์พระเมืองเกษเกล้า แล้วขุนนางก็เสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ เมืองพานนี้กล่าวถึงว่าเจ้าเมืองพานมีบาทบาทในการร่วมอัญเชิญพระไชยเชษฐามาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ และเมื่อพระอุปโยราชมาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แล้ว ทรงโปรดแต่ตั้งให้ขุนนางไปกินเมืองต่างๆ ในการแต่งตั้งครั้งนี้พระยาวชิรอำมาตย์ไปกินเมืองพาน ดังความว่า “...เจ้า หมื่นสามล้านอ้ายเจ้าเมืองนคร หมื่นแก้วเจ้าเมืองเชียงราย หมื่นมโนเจ้าเมืองเชียงแสน หมื่นยี่เจ้า เมืองพาน หมื่นหนังสือหลวง เจ้าขุนทั้งหลายพร้อมกันยังเชียงแสน จึงหื้อหมื่นตาแสงพ่อน้อย ไปราธนาพระเจ้าล้านช้าง ก็รับปฏิญาณว่าจักมากินเมืองเชียงใหม่...”
“ พระเป็นเจ้าอุปเยาว์ทานยังสิรินามทักยศศักดิ์แก่เสนาอามาตย์ทั้งหลาย พระยาสุทธสนะกินเชียงแสน พระยาวชิรอำมาตย์กินเมืองพาน และพระยาลือชัยกินเชียงราย ” (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ หน้า 72 และ 75)เรื่องราวของ “ เมืองพาน ” ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงดินแดนแห่งนี้มากนัก เมืองพานเป็นเมืองที่พบเครื่องปั้นดินเผา แต่กระนั้นเรื่องราวของเมืองพานไม่ปรากฏในตำนานมากนัก สันนิษฐานว่าเมืองนี้อาจจะตั้งขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์มังรายก็เป็นได้ มีตำนานกล่าวถึงเมืองพานนี้น้อยครั้งหรือมิเช่นนั้นเมืองพานอาจจะเป็นเมืองเล็กๆ ไม่มีบทบาทด้านการเมือง จึงไม่มีการกล่าวถึง และเป็นที่น่าสังเกตเช่นกันว่า เวียงกาหลง ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญในสมัยโบราณก็ไม่พบปรากฏชื่อเมือง เช่นนี้ในตำนาน ถ้าจะคิดว่าเมืองที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมเล็กๆ ตำนานไม่มีโอกาสเขียนถึงเพราะไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ให้กล่าวถึงอาจจะเป็นได้ เมืองพานกล่าวถึงในสมัยที่บ้านเมืองเชียงใหม่จลาจล มีการลอบปลงพระชนม์พระเมืองเกษเกล้า แล้วขุนนางก็เสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ เมืองพานนี้กล่าวถึงว่าเจ้าเมืองพานมีบาทบาทในการร่วมอัญเชิญพระไชยเชษฐามาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ และเมื่อพระอุปโยราชมาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แล้ว ทรงโปรดแต่ตั้งให้ขุนนางไปกินเมืองต่างๆ ในการแต่งตั้งครั้งนี้พระยาวชิรอำมาตย์ไปกินเมืองพาน ดังความว่า “...เจ้า หมื่นสามล้านอ้ายเจ้าเมืองนคร หมื่นแก้วเจ้าเมืองเชียงราย หมื่นมโนเจ้าเมืองเชียงแสน หมื่นยี่เจ้า เมืองพาน หมื่นหนังสือหลวง เจ้าขุนทั้งหลายพร้อมกันยังเชียงแสน จึงหื้อหมื่นตาแสงพ่อน้อย ไปราธนาพระเจ้าล้านช้าง ก็รับปฏิญาณว่าจักมากินเมืองเชียงใหม่...”
หลังจากนี้แล้วเมืองพานปรากฏหลักฐานอีกครั้งหลังจากที่พระนางวิสุทธิเทวี กษัตริย์เชียงใหม่เชื้อสายพญามังรายองค์สุดท้ายสิ้นพระชนม์ พม่าส่งกษัตริย์เข้ามาปกครองเชียงใหม่ ในกาลนี้โปรดให้นางพระยา ซึ่งไม่บอกชื่อไปกินเมืองเชียงแสน 3 ปีต่อมาย้ายให้ไปกินเมืองพาน ดังความว่า
“จุลศักราช 940 ตัว (พ.ศ. 2121) ปีขาล สัมฤทธิ์ศก พระนางวิสุทธิเทวีทิวงคตในปีนั้น เอาคำหมู่ไปกินเมืองเชียงแสน...ให้นางพระยากินเชียงแสนได้ 3 ปี แล้วยายมากินเมืองพาน (ตำนานราชวงศ์ปกรณ์ หน้า 379 ในประชุมตำนานล้านนาไทย เล่ม 1)
แต่อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ คู่มือชีวิต สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช และเตี่ย กับบางส่วนเสี้ยวแห่งชีวิต พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานบรรจุสังขาร นายเล็กจิว แซ่ฉั่ว ซึ่งเป็นชาวจีนรุ่นแรกๆที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองพาน ได้มีบทความที่เขียนถึงประวัติเมืองพานไว้ว่า “เมืองพานหลังจากรกร้างมานานได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเมืองโดย คนไต ต่องสู่ และม่าน คนไตมีจำนวนมากที่สุด คนไตรุ่นแรกๆที่มาเป็น กลุ่ม “ ไตน้ำคง ” หรือกลุ่มไตน้ำสาละวิน ซึ่งอพยพมาจาก “ เมืองพาน ” ในรัฐฉาน ซึ่งตังอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเชียงราย ห่างดอยแม่สะลองประมาณ 120 ก.ม. คนตระกูลไตนั้นมีวัฒนธรรมร่วมกันประการหนึ่งคือ นิยมใช้ชื่อถิ่นที่อยู่หรือชุมชนเดิมของตนเองไปตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านใหม่ที่ สมาชิกชุมชนนั้นแยกตัวออกไปตั้ง ไตน้ำคง เมื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่ริมน้ำแม่ส้าน จึงได้ขอยืมชื่อ “ เมืองพาน ” บ้านเก่าเมืองเดิมของตนมาเป็นชื่อหมู่บ้านใหม่ หากข้อความข้างต้นเป็นข้อเท็จจริง คำว่า “ เมืองพาน ” ที่ปรากฏทั้งในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และราชวงค์ปกรณ์ คงหมายถึง เมืองพาน ที่อยู่ในเขตรัฐฉานของพม่า หรือเมืองพาน ที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย ก็อาจเป็นไปได้ทั้งคู่ แต่ก็ต้องมาวิเคราะห์กันว่า เมืองพาน ในเขตรัฐฉานในสมัยดังกล่าวนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองหรือเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรล้านนาหรือไม่อย่างไร และเมืองพานที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นก่อตั้งขึ้นในสมัยใด ซึ่งก็ต้องศึกษากันต้องไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมืองพาน ในช่วงเวลาหนึ่งได้ขึ้นตรงต่อลำพูน ทั้งที่มีระยะทางที่ห่างไกลกันและอาณาเขตภูมิประเทศ ก็ไม่ได้ติดต่อกัน หลังจากที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าพบว่า ใน “ ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” ของพระเจ้ากาวิละ อันเป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมืองที่สำคัญยุคหนึ่งนั้น เป็นยุคที่มีการกวาดต้อนผู้คนทางภาคเหนือของล้านนาเข้ามาเป็นจำนวนมาก เช่น ชาวไทเขิน ไทลื้อ รวมไปถึงคนไตและคนเมืองที่อยู่ฝั่งแม่น้ำสาละวิน การกวดต้อนของพระเจ้ากาวิละนั้นจะกวดต้อนมาทั้งระบบสังคมกล่าวคือจะมาทั้ง ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองของแต่ละเมืองนั้นๆ เช่น กวดต้อนชาวไทลื้อจากเมืองยอง มาไว้ที่ลำพูน เป็นต้น แล้วแต่งตั้งให้น้องทั้งเจ็ดคน (ซึ่งเรียกว่า เจ้าเจ็ดตน) ครองเมืองต่างๆในล้านนา แล้วเจ้าเมืองที่ครองเมืองต่างๆนั้นก็จะแบ่งสายไปครองเมืองเล็กเมืองน้อยอีกต่อหนึ่ง เช่น เจ้าเมืองลำปางก็จะส่งคนไปครองเมืองงาว เจ้าเมืองลำพูนก็จะส่งคนไปครองเมืองพาน ซึ่งสอดคล้องกับ อินทร์ สุใจ ได้กล่าวไว้ใน ประวัติอำเภอพานว่า “ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2380 เจ้าหลวงดาราฤทธิเดช แห่งเมืองลำพูนให้อพยพเชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนจากเมืองล้านนาตอนบน เช่นเมืองเชียงตุง สิบสองปันนาและเมืองยอง มาอยู่ที่เมืองเวียงห้าวซึ่งเป็นเมืองร้าง เมื่ออพยพเชลยศึกจากลำพูนมาอยู่ที่เมืองร้างนั้นมีหัวหน้าชื่อนายจินดา โจร เมื่อไปถึงต่างช่วยกันบูรณะเมืองร้างจนกลายเป็นเมืองใหม่ขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า เมืองพาน (พาน หมายถึง พานพบ, พบปะบางตำนานก็ว่า พานมาจากคำว่า ฟาน เพราะบริเวณนั้นมีเก้ง มีฟานมาก แม้จะสร้างเมืองใหม่แล้วแต่การทำมาหากินฝืดเคืองประกอบกับมีผู้คนตกน้ำแม่ส้าน ซึ่งเป็นแม่น้ำลึกใหญ่ไหลผ่านเมืองในขณะนั้น ดังนั้นจึงย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ บ้านเก่าในปัจจุบันให้ชื่อว่า “ บ้านสันเค็ดเก๊า ” (หมายถึงบ้านที่เคยตั้งอยู่แต่เดิมมา) และตั้งชื่อวัด ตรงกับชื่อเมืองด้วย “สันเค็ดเก๊า” คือวัดบ้านเก่า หรือวัดเกตุแก้วในปัจจุบัน ต่อมานายจันดาโจร ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นพญาหาญ ตั้งบ้านอยู่ทางทิศเหนือของวัดเกตุแก้ว และได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองคนที่ 1 และมีพญาไชยเฒ่า พญาไชยชนะสงครามเป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 และ คนที่ 3 ตามลำดับ ”
ในสารานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เล่มที่
20 ได้บันถึงปูมของเมืองพานไว้อีกแง่มุมหนึ่งว่า
อำเภอพาน
เดิมเป็นเมืองขึ้นกับจังหวัดลำพูน ตั้งขึ้นเมื่อราว
พ.ศ.2450
เหตุที่ตั้งเป็นเมืองนั้น
ได้ความว่าภูมิประเทศของเมืองนี้อยู่ในเขตจังหวัดลำปาง
ครั้งหนึ่งมีพรานชาวลำพูนคนหนึ่งเที่ยวล่าสัตว์
ไปยิงช้างสำคัญของเจ้านครลำปางตาย
เจ้านครลำปางจึงขอให้เจ้านครลำพูนใช้ราคาช้าง
เจ้านครลำพูนก็ยอม
แต่ขอท้องที่แถบนั้นเป็นของลำพูน
เจ้านครลำพูนจึงตั้งพ่อเมืองไปรักษาเก็บส่วย
ต่อมาราวพ.ศ.2443
ทางราชการได้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับจังหวัดลำพูน
ถึงพ.ศ.2447
ทางราชการเห็นว่าเขตกิ่ง
อ.เมืองพาน
ไม่ได้ติดต่อกับลำพูนเลย
จึงยกให้ไปขึ้นกับ
อ.แม่ใจใต้
จ.เชียงราย
อยู่ราว
2 ปี
จึงรวม อ.แม่ใจใต้กับกิ่งอำเภอเมืองพานเป็น
อำเภอเมืองพาน
เปลี่ยนชื่อเป็น
อ.พาน
เมื่อปี
พ.ศ.2481
ที่มา http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=36668&name=content3&area=3
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น